วันศุกร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2556

เสริมภูมิคุ้มกันโรคด้วย “หญ้าปักกิ่ง”

เกิดเป็นต้นหญ้าใครว่าไร้ค่า ไม่มีประโยชน์ “108เคล็ดกิน” ขอเถียงสุดใจขาดดิ้น เพราะต้นหญ้าที่หลายคนมองข้ามบางทีก็อาจจะเป็นยาวิเศษ ที่ช่วยเสริมสร้างสุขภาพให้แข็งแรงได้เช่นกันอย่างเช่น “หญ้าปักกิ่ง” นี่อย่างไร
    
       หญ้าปักกิ่ง หรือในชื่อภาษาจีนว่า เล้งจือเช่า หรือ หญ้าเทวดา เป็นไม้ล้มลุก ใบ หนาเรียวคล้ายใบไผ่ ฉ่ำน้ำดอกเล็ก ๆ ออกที่ปลายต้น สีบานเย็น กลีบขาวแกมม่วง มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีนตอนใต้แถบสิบสองปันนา เป็นยามีรสจืด เย็น มีสรรพคุณในการยับยั้งโรคมะเร็งหลายชนิด เช่น มะเร็งในคอ มะเร็งตับ มะเร็งมดลูก มะเร็งเม็ดเลือดขาว เป็นต้น
    
       การตรวจวิเคราะห์ในห้องแล็บพบว่า ลำต้น  หญ้าปักกิ่งมีสารกลุ่มกลัยโคสพิงโกไลบิตส์ เป็นสารต้านมะเร็งระยะต้น ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย เช่น โรคมะเร็ง เส้นเลือดหัวใจตีบ โรคภูมิแพ้ โรคความดันและเบาหวาน สามารถใช้รักษาร่วมกับยาแผนปัจจุบันได้ ช่วยลดอาการข้างเคียงจาการฉายแสง ในผู้ป่วยที่จำเป็นต้องฉายแสง
    
       ในชาวจีนสมัยโบราณใช้หญ้าปักกิ่งเป็นสมุนไพรรักษาโรคมาเป็นเวลาหลาย พันปี ใช้บำรุงพลังปราณ ปรับสมดุลย์ร่างกาย เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน การกินหญ้าปักกิ่งมีหลากหลายวิธีแต่ที่ง่ายสุดก็คือ กินหญ้าปักกิ่งสดๆ หรือปรุงเป็นอาหารจิ้มน้ำพริกกินก็ได้ แต่ต้องล้างให้มั่นใจว่าสะอาดจริงๆและข้อควรระวังไม่ควรกินของแสลง ซึ่งมีผลให้ฤทธิ์การรักษาโรคของหญ้าปักกิ่งอ่อนลง เช่น ฟักแฟง แตงกวา มะระ หัวไชเท้า

หญ้าปักกิ่ง กับการรักษาโรคมะเร็ง

….มหัศจรรย์จริงๆ…  เพราะสรรพคุณของหญ้าปักกิ่ง ที่โดดเด่นคือ การรักษาโรคมะเร็ง นั่นเอง

ดิฉันยังคงดื่มน้ำหญ้าปักกิ่งทุกวัน ในช่วงแรกๆ ของการให้เคมีบำบัด ดิฉันขอแนะนำว่า สรรพคุณหญ้าปักกิ่ง เป็นยาเย็น ไม่ควรกินติดต่อกันนาน ควรกินและมีระยะเวลาหยุด แล้วค่อยเริ่มกินใหม่ ขึ้นอยู่กับความแข็งแรงของผู้ป่วยและอาการมะเร็ง ควรหาข้อมูลเพิ่มเติมแล้วปรับประยุกต์ใช้คะ ……………………………………………………………………..

ความรู้เกี่ยวกับหญ้าปักกิ่ง (พอสังเขป..)

ลักษณะ : ไม้ล้มลุก สูงประมาณ 10 ซม. ใบ เดี่ยว เรียงสลับ ใบที่โคนต้นกว้างประมาณ 1.5 ซม. ยาว 10 ซม. ใบส่วนบนสั้นกว่าใบที่โคนต้น ดอก ช่อ ออกที่ปลายยอด รวมกันเป็นกระจุกแน่น ใบประดับย่อยค่อนข้างกลมซ้อนกัน สีเขียวอ่อน บางใส กลีบดอกสีฟ้าหรือม่วงอ่อน ร่วงง่าย ผลแห้ง แตกได้ คำแนะนำ : ก่อนนำมารับประทาน ควรทำการล้างให้สะอาดเสียก่อน

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ใบและต้นสด


สรรพคุณ ขนาดและวิธีใช้ : หญ้าปักกิ่งมีถิ่นกำเนิดในประเทศจีนตอนใต้ แถบสิบสองปันนา ในตำรายาจีนปรากฏชื่อพืชสกุลเดียวกันนี้ ใช้รักษาอาการเจ็บคอและมะเร็ง เป็นสมุนไพรที่มีสารสำคัญในการยับยั้งมะเร็งหลายชนิดเช่น มะเร็งในคอ ตับ มดลูก ลำไส้ ผิวหนัง เม็ดเลือด โดยเฉพาะมะเร็งเต้านมและมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ (สามารถรักษามะเร็งได้ในระดับหนึ่ง กำลังอยู่ระหว่างศึกษาวิจัย) วิธีใช้ : ใช้ต้นหญ้าปักกิ่งสดๆ 6 ต้น ล้างน้ำให้สะอาด ปั่นหรือตำให้ละเอียด เติมน้ำสุกประมาณ 4 ช้อนโต๊ะ คั้นเอาน้ำสด ๆ มาดื่มแบ่งครึ่งทานก่อนอาหารเช้าและก่อนนอนดื่มประจำเป็นระยะยาวได้ เมื่อใช้ร่วมกับการรักษามะเร็ง จะช่วยลดอาการข้างเคียงได้ แปรรูป : เก็บเอาหญ้าปักกิ่งทั้งต้นทั้งราก คัดเอาใบที่สมบูรณ์และใบซีดเหลืองออกก่อน จึงนำมาล้าง โดยล้างเศษดินที่ติดมากับรากให้สะอาด และระวังดินที่ติดโคนต้น แล้วนำไปสรงน้ำต่ออีก 2 ครั้ง สะเด็ดน้ำให้แห้งดี จากนั้นจึงนำหญ้าปักกิ่งมาหั่นเป็นชิ้นๆ ขนาด 0.5 ซม.นำไปตากแดดประมาณ 5-7 วันเวลาตากควรเกลี่ยให้ทั่วและเกลี่ยบ่อยๆ ในระหว่างวัน เมื่อแห้งสนิทดีแล้วจึงนำมาบรรจุใส่ภาชนะที่เตรียมไว้ให้มิดชิด วิธีเตรียมน้ำคั้นสำหรับรับประทานต่อวันกำหนด 6 ต้น ล้างน้ำให้สะอาด หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ และโขลกในครกที่สะอาดให้ละเอียด เพื่อคั้นน้ำได้ดีเติมน้ำสุก 4 ช้อนโต๊ะ (60 มิลลิลิตร) ผสมให้เข้ากันกรองผ่านผ้าขาวบาง น้ำที่คั้นได้ เก็บเอาไว้ในตู้เย็น ทั้งนี้อาจลดขนาดของหญ้าปักกิ่งและน้ำลงครึ่งหนึ่ง เพื่อการรับประทานในครั้งเดียวก็ได้ วิธีรับประทาน : รับประทานครั้งละ 30 มิลลิลิตร (ครึ่งหนึ่ง) ก่อนอาหารเช้า ครึ่งชั่วโมง และก่อนนอน ขนาดที่แนะนำนี้สำหรับผู้ใหญ่น้ำหนักตัวเฉลี่ย 60 กิโลกรัม หากเป็นเด็ก (ต่ำกว่า 12 ปี) ควรลดขนาดลงครึ่งหนึ่ง คำแนะนำการเตรียมยาและรับประทาน ให้ใช้น้ำสะอาดที่ต้มสุกแล้วเท่านั้น ไม่ควรใช้น้ำร้อนหรือสุรา หลักสำคัญของการเตรียมคือ ความสะอาด สามารถใช้ได้ทั้งต้นหรือใบ หากใช้ทั้งต้นต้องล้างน้ำให้สะอาด ผลข้างเคียง ในระยะ 7 วัน หรือ 10 วัน อาจมีอาการหงุดหงิด หรือเป็นไข้ อาจมีน้ำเลือดปนหนองออกทางอุจจาระ น้ำปัสสาวะอาจเหมือนน้ำล้างปลา นอนไม่หลับ/โมโหง่าย อธิบายเพิ่มเติม 1. การรับประทานยานี้ สามารถทำควบคู่ ไปพร้อมกับการรักษาแผนปัจจุบันได้ 2. ถ้าผ่านการฉายแสงมาก่อนแล้ว การรับประทานยานี้จะทำให้ไม่แพ้แสงและถอนพิษไข้ได้ 3. ขณะรับประทานยานี้ ควรงดของแสลง เช่น ฟัก, แตงกวา, ผักกาดขาว,หน่อไม้, ผักบุ้ง, หัวไช้เท้า คำแนะนำ - ก่อนใช้ควรทำการล้างให้สะอาดเสียก่อน - การนำมารับประทาน ไม่ควรต้ม หรือเคี่ยว จะทำลายสรรพคุณทางยาลงอย่างมาก - ไม่แนะนำให้กินหญ้าปักกิ่งเพื่อรักษาโรคมะเร็ง ควรพบแพทย์เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง เพราะโรคอาจรุนแรงจนควบคุมไม่ได้ ขอบคุณข้อมูลจากรามาคลินิก

วันพฤหัสบดีที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2556

หญ้าปักกิ่ง หรือ หญ้าเทวดา เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยววงศ์ Commelinaceae ต้นสูง 7-10 ซม. บางทีสูงได้ถึง 20 ซม. ใบที่โคนต้นกว้างประมาณ 1 ซม. ยาวไม่เกิน 10 ซม. ใบตามลำต้นสั้นกว่าใบที่โคนต้น ดอก ออกเป็นช่อที่ยอดรวมกันเป็นกระจุกแน่น กลีบดอกสีฟ้าหรือม่วงอ่อน รูปไข่กลับ ยาว 3-5 ซม. กลีบนอกรูปไข่ ยาวประมาณ 4 มม. ใบประดับกลมยาวประมาณ 4 มม. ไม่ซ้อนกัน ร่วงง่าย เกสรตัวผู้ที่สมบูรณ์มี 2 อัน เกสรตัวผู้ไม่สมบูรณ์มี 3 อัน ก้านเกสรมีขนรังไข่รูปขนาน ยาวประมาณ 1 มม. เกลี้ยงก้านเกสรตัวเมีย ยาวประมาณ 3 มม. ผลรูปไข่เป็นสามเหลี่ยมปลายแหลมยาว 3-4 มม. มีเมล็ด 2 เมล็ด มีลายเป็นรัศมี หญ้าปักกิ่งมีถิ่นกำเนิดในประเทศจีนแถบสิบสองปันนา มีการนำเข้าและปลูกทั่วไปในประเทศไทย ชอบขึ้นที่ดินร่วนปนทรายแดดรำไร และน้ำไม่ขัง ยาจีนใช้หญ้าปักกิ่งในโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ ในประเทศไทยประมาณ 20 ปีที่แล้ว ผู้ป่วยโรคมะเร็งดื่มน้ำคั้นจากหญ้าปักกิ่งทั้งต้น เพื่อรักษาและบรรเทาอาการจากโรคมะเร็ง บางรายใช้หญ้าปักกิ่งร่วมกับการรักษาแผนปัจจุบัน เพื่อช่วยลดผลข้างเคียง ผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ได้รายงานว่าใช้หญ้าปักกิ่งรักษาตนเองจากมะเร็งต่าง ๆ ปอดกระเพาะอาหาร มดลูก โพรงจมูกตับ เม็ดเลือดขาวเต้านม เนื้องอกในสมอง เป็นต้น
หญ้าปักกิ่งมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ Murdannia loriformis (Hassk.) Rolla Raoet Kammathy ขนใบของหญ้าปักกิ่ง
เมื่อสัมผัสอาจทำให้แพ้ มีอาการผื่นคัน ภายในใบหญ้ามีผลึกแคลเซียมออกซาเลทรูปเข็มจำนวนมาก และมีเกลืออนินทรีย์ของโซเดียม และโปตัสเซียมประมาณ 0.1% น้ำคั้นจากหญ้าปักกิ่งไม่ทำให้เกิดความผิดปกติในด้านการเจริญเติบโต เพื่อพิสูจน์ประสิทธิภาพในการรักษาโรคมะเร็งเบื้องต้น ได้ทำการวิจัยเพื่อแยกสารที่แสดงคุณสมบัติต้านมะเร็ง พบว่าหญ้าปักกิ่งมีกลุ่มสารที่แสดงฤทธิ์ยับยั้งเซลล์มะเร็ง (direct cytotoxicity) ต่อเซลล์มะเร็งเต้านม (ATCC HTB 20) และเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่ (SW 620) ได้แก่ กลุ่มกลัยโคไซด์ และอะกลัยโคน สำหรับกลุ่มคาร์โบไฮเดรต และกรดอะมิโนไม่ได้ทำการตรวจสอบทำการแยกส่วนเด่นในกลุ่มกลัยโคไซด์
อย่างไรก็ตามฤทธิ์ยับยั้งเซลล์มะเร็งของหญ้าปักกิ่งค่อนข้างอ่อน จำเป็นต้องตรวจสอบคุณสมบัติต้านมะเร็งที่แสดงออกทางอ้อม โดยผ่านเซลล์ของระบบภูมิคุ้มกันงานวิจัยอยู่ในระหว่างการศึกษาวิจัย ดังนั้นเพื่อประเมินประสิทธิภาพในการรักษามะเร็งของหญ้าปักกิ่งจำเป็นต้อง ผ่านการทดลองทางคลีนิค เนื่องจากจะมีการพัฒนารูปแบบการใช้ที่ทันสมัยและแตกต่าง

ขอบคุณข้อมูลจาก : หญ้าปักกิ่ง  
หญ้าเทวดา เป็นดั่งชื่อจริงหรือ โดย ภญ.ดร.จุไรทิพย์ หวังสินทวีกุล
ได้มีผู้กล่าวขวัญถึงสรรพคุณของหญ้าปักกิ่งไว้อย่างมากมายตั้งแต่การใช้อย่างง่ายโดยทำได้เองจนได้มีการพัฒนารูปแบบของยาปรากฏเป็นผลิตภัณฑ์ออกมาอยู่ในรูปแคปซูลออกมาจำหน่าย พร้อมทั้งได้เขียนสรรพคุณมากมาย เช่น
หญ้าปักกิ่ง หรือ หญ้าเทวดา มีคุณสมบัติในการเพิ่มระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย, เพิ่มการเจริญเติบโตและการพัฒนาของเซลล์เม็ดเลือดขาว ซ่อมแซมเซลล์ เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของตับและม้าม เป็นต้น ผลตรงนี้เองที่ทำให้อดไม่ได้ทีจะไปค้นเพื่อตอบปัญหาว่า หญ้าปักกิ่งนั้นรักษาโรคได้มากมายเช่นนั้นจริงหรือ
murdannia14"หญ้าปักกิ่ง" มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า หญ้าเทวดา เล่งจือเช้า ก็เรียก มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Angel Grass จัดเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Murdannia loriformis (Hassk.) Rolla Rao et Kammathy อยู่ในวงศ์ Commelinaceae หากดูลักษณะภายนอกแล้วคล้ายกับหญ้าชนิดหนึ่ง มีต้นสูงประมาณ 7-10 เซนติเมตร ลักษณะใบที่โคนกว้าง ประมาณ 1 เซนติเมตร ดอกออกเป็นช่อที่ยอด รวมกันเป็นกระจุกแน่น กลีบดอกสีฟ้าหรือม่วงอ่อน หญ้าปักกิ่งมีถิ่นกำเนิดในประเทศจีนแถบสิบสองปันนา มีการนำเข้า และปลูกทั่วไปในประเทศไทย เป็นพืชที่ชอบดินร่วนหรือดินปนทราย งอกงามในที่มีแดดรำไรไม่ต้องการน้ำมาก วิธีปลูกให้นำ ต้นเล็ก ที่มีรากมาปลูกหรือใช้เมล็ด อาจปลูกเป็นพืชคลุมดินใต้ต้นไม้ใหญ่ ปลูกในกระบะหรือกระถาง หญ้าปักกิ่งเป็นพืชที่ปลูกง่ายและไม่จำเป็นต้องมีเนื้อที่มาก ในประเทศจีนนำมาหญ้าปักกิ่งมาใช้รักษาโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ เป็นส่วนประกอบในยาแผนโบราณของจีนมานานกว่า 1,000 ปี ใช้เป็นยาอายุวัฒนะ เพิ่มความสมดุลย์ของระบบในร่างกาย ยาจีนจัดหญ้าปักกิ่งอยู่ในกลุ่มของยาเย็น ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันของร่างกายและชาวจีนยังนำหญ้าปักกิ่งมาใช้ในการรักษาโรคเบาหวานอีกด้วย
การนำหญ้าปักกิ่งไปใช้ จะใช้ทั้งต้นหรือส่วนเหนือดิน โดยต้นที่นำมาใช้เป็นยา ควรมีอายุประมาณ 3-4 เดือน (ตั้งแต่เริ่มออกดอก) ในประเทศไทยประมาณ 15 ปีที่แล้ว ได้มีการใช้น้ำคั้นสดจากต้นปักกิ่ง เพื่อรักษาและบรรเทาอาการจากโรคมะเร็ง บางรายใช้ร่วมกับการรักษาแบบแผนปัจจุบันเพื่อลดผลข้างเคียง แต่ในขณะนั้นก็ยังไม่ได้มีรายงานหรือ หลักฐาน ทางวิทยาศาสตร์ ยืนยันว่ารักษาโรคมะเร็งได้ แต่ก็ได้แนวความคิดในการศึกษาว่าน้ำคั้นจากหญ้าปักกิ่งนั้นจะสามารถรักษาโรคมะเร็งได้จริงหรือ? มหาวิทยาลัยมหิดลได้ให้ความสำคัญและมีรายงานการวิจัยเกี่ยวกับหญ้าปักกิ่งโดยจัดให้การศึกษาลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของหญ้าปักกิ่ง มีการจัดทำมาตรฐานของหญ้าปักกิ่ง รวมไปถึงการศึกษาในการทดสอบความเป็นพิษผลการวิจัยพบว่าใบของหญ้าปักกิ่งเมื่อสัมผัสจะทำให้เกิดอาการแพ้ มีอาการผื่นคัน
ภายในใบหญ้ามีผลึกแคลเซียมออกซาเลทรูปเข้มจำนวนมากและมีเกลืออนินทรีย์ ของโซเดียมและโปแทสเซียมอยู่ประมาณ 0.1% น้ำคั้นจากหญ้าปักกิ่ง ไม่ทำให้เกิดความผิดปกติในด้านการเจริญเติบโต เคมีของเลือด และพยาธิสภาพของอวัยวะสำคัญในหนูขาวและผลของการทดสอบความเป็นพิษพบว่า หญ้าปักกิ่งเป็นสมุนไพรที่ค่อนข้าง ปลอดภัยเพียงพอในขนาดรักษาติดต่อกันนาน3 เดือน ในด้านการรักษาโรคมะเร็งของหญ้าปักกิ่งได้มีการวิจัยเบื้องต้นโดยแยกสาร ที่แสดงคุณสมบัติต้านมะเร็งพบว่าหญ้าปักกิ่ง ประกอบด้วยสารกลุ่มต่างๆได้แก่ คาร์โบไฮเดรต กรดอะมิโน กลัยโคไซด์ ฟลาโวนอยด์ และอะกลัยโคน ผลการทดสอบพบว่าสารในกลุ่มอะกลัยโคน และกลุ่มกลัยโคไซด์ แสดงฤทธิ์ยับยั้งเซลล์มะเร็ง (direct toxicity)
ต่อเซลล์มะเร็งเต้านม(ATCC HTB 20) และเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่ (SW620) ได้ ยังมีรายงานฤทธิ์ในการต้าน การกลายพันธุ์ ของหญ้าปักกิ่ง ซึ่งอาจบ่งชี้ว่าหญ้าปักกิ่งอาจป้องการเกิดมะเร็งได้อีกด้วย
อย่างไรก็ดีจำเป็นต้องมีการศึกษาและประเมินประสิทธิภาพของหญ้าปักกิ่งเสียก่อน รวมทั้งการศึกษาทางคลินิกเพื่อยืนยันผลให้แน่นอนอีกด้วยถึงแม้ว่าการศึกษาคุณสมบัติของหญ้าปักกิ่งในการรักษาโรคมะเร็งนั้นยังไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ แต่ก็ได้มีการกล่าวถึงผู้ที่เคยใช้น้ำคั้นสดจากหญ้าปักกิ่งไปรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็ง ผลก็คืออาการของผู้ป่วยโรคมะเร็งมีสุขภาพดีขึ้น ดังที่ปรากฏอยู่ในหนังสือ ที่อาจารย์เจือ ได้เขียนบอกเล่าไว้ในหนังสือ
"ผมรู้มาอย่างนี้แหละครับเรื่อง หญ้าปักกิ่ง" โดยเตรียมทั้งที่อยู่ในรูปน้ำคั้น ยาลูกกลอนปั้นกับน้ำผึ้ง หรืออยู่ในรูปของยาแคปซูล ในที่นี้ขอยกตัวอย่างวิธีการ เตรียมน้ำคั้นจากหญ้าปักกิ่ง กล่าวคือให้นำทั้งต้น น้ำหนัก 100-120 กรัม หรือจำนวน 6 ต้น ล้างน้ำให้สะอาด หั่นเป็นชิ้นเล็กๆและโขลกในครกที่สะอาด ให้แหลกเติมน้ำสะอาด 4 ช้อนโต๊ะ กรองผ่านผ้าขาวบาง ส่วนวิธีใช้ ก็ให้ดื่มน้ำคั้น 2 ช้อนโต๊ะ วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น ก่อนอาหาร
หญ้าปักกิ่ง หรือยาเทวดา หรือหญ้าชุบชีวิต อย่างที่ใครบางคนให้สมญานามนั้น ก็คงจะมีสรรพคุณดี อย่างที่บอกเล่าต่อกันมา ว่ามีคุณสมบัติในการเป็นยาอายุวัฒนะ เพิ่มภูมิคุ้มกัน ของร่างกายแต่เพื่อให้การใช้หญ้าปักกิ่งเพื่อการรักษาอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพแล้ว ผู้ที่คิดจะใช้หญ้าปักกิ่งก็ควรที่จะใช้วิจารณญานในการตัดสินใจก่อนการนำมาใช้ในการรักษาโรคด้วย และติดตามผลการศึกษาวิจัยที่เกี่ยวกับหญ้าปักกิ่งอย่างใกล้ชิดการที่หญ้าปักกิ่งจะเป็นหญ้าเทวดาดั่งที่คิดหรือไม่ ก็จะต้องขึ้นอยู่กับการใช้ว่าถูกชนิด ถูกขนาด และถูกกับโรคหรือไม่เช่นเดียวกัน
เอกสารอ้างอิง
  1. พิมลวรรณ ทิพยุทธพิจารณ์, วัลลา วามนัฐจินดา, พรรณี พิเดช. 2533. การศึกษาความเป็นพิษเฉียบพลันของหญ้าปักกิ่งในหนูขาว. สารศิริราช 473, 458-463.
  2. พิมลวรรณ ทิพยุทธพิจารณ์, วัลลา วามนัฐจินดา, พรรณี พิเดช. 2534. พิษเรื้อรังของหญ้าปักกิ่งในหนูขาว สารศิริราช, 529-533.
  3. วีณา จิรัจฉริยากูล. 2542. สารต้านมะเร็งจากหญ้าปักกิ่ง. จุลสารข้อมูลสมุนไพร ปีที่ 16 ฉบับที่ 3.
  4. Jiratchariyakul, W., Moonkarndi, P. Okabe, H. and Frahm, A.W. 1997. Investigation of anticancer components from Murdannia loriformis (Hassk.) Rolla Rao et Kammathy. Pharma Indochina, 20-23 May 1997, Faculty of Pharmacy, Mahidol University, Bangkok, Thailand.
  5. Vinitket kummuen U., Charoenkunathum, W., Kongtawelert, P., Lortprasertsuke, N., Picha, P. and Matsushima, T. 1996. Antimutagenicity and DT-diephorease inducer activity of the thai medicinal plant, Murdannia loriformis. Herb Spices. Medicinal Plants 4, 45-52.
ข้อมูลจากบทความวิชาการ ภาควิชาเภสัชเวทและเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

วันอาทิตย์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2556

สรรพคุณหญ้าปักกิ่ง

หญ้าปักกิ่ง เป็นสมุนไพรรักษาโรคครอบจักรวาล ชาวจีนสมัยโบราณใช้หญ้าปักกิ่งเป็นสมุนไพรรักษาโรคมาเป็นเวลาหลายพันปีแล้วใช้บำรุงพลังปราณ ปรับสมดุลย์ร่างกาย เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน Activate Cells หญ้าปักกิ่งรักษามะเร็งได้ในระดับหนึ่ง เช่น ในตับ ลำคอ มดลูก กระเพาะอาหาร ลำไส้ต่อมน้ำเหลือง เม็ดโลหิต (ลูคีเมีย) รักษาไทรอยด์ ไตอักเสบ เบาหวาน ความดันโลหิตสูงหรือต่ำ โรคเส้นเลือดหัวใจตีบ โรคหัวใจ แก้ไอ ระงับปวด บำรุงหัวใจ ไมเกรน ภูมิแพ้

ทำให้น้ำเหลืองแห้ง สามารถนำหญ้าปักกิ่งมาตำ แล้วพอกรักษาแผลต่างๆ เช่นงูสวัด เริม แผลเบาหวาน อีกทั้งยังช่วยระบบขับถ่ายดีมาก ฯลฯ (มีฮอร์โมน , เกลือแร่ ,ไม่เป็นพิษระยะสั้น – ระยะยาว)

หญ้าปักกิ่ง (เล่งจือเฉ้า) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Murdannia LoriFormis (Hassk) Rolla Rao et Kammathy Commelinaceae

ลักษณะของหญ้าปักกิ่ง หญ้าปักกิ่ง เป็นไม้ล้มลุก สูงราว 10-30 ซ.ม. ใบเดี่ยว หนาเรียวคล้ายใบไผ่ ฉ่ำน้ำดอกเล็ก ๆ ออกที่ปลายต้น สีบานเย็น กลีบขาวแกมม่วง
หญ้าปักกิ่งมีกำเนิดในประเทศจีนตอนใต้ แถบสิบสองปันนา การขยายพันธุ์หญ้าปักกิ่งโดยการแยกหน่อ หรือเมล็ด หากจะนำมาปลูก ควรปลูกหญ้าปักกิ่งกับดินร่วนปนทราย และวางไว้ในที่ๆ มีแดดรำไร

วิธีรับประทานหญ้าปักกิ่ง สูตรการทำที่เป็นที่นิยม : นำหญ้าปักกิ่ง 1 กิโลกรัม ล้างให้สะอาดทั้งต้น ใบ ราก และดอก (ถ้ามี) ใช้น้ำสุกเย็นแล้ว 3 ขวดแม่โขงกลม ปั่นด้วยเครื่องปั่น (Blender) คั้นหญ้าปักกิ่งด้วยผ้าขาวบางสะอาด เอาแต่น้ำสีเขียวเข้มและฟอง กรอกใส่ขวด ปิดฝาให้แน่น เก็บเข้าตู้เย็น (ใต้ช่องแข็ง) ดื่มครั้งละ 1 แก้ว ก่อนอาหารเช้าครึ่งชั่วโมง 1 ครั้ง และก่อนนอน 1 ครั้ง ถ้าผสมน้ำผึ้งด้วย ก็จะได้รสชาติอร่อย หวาน หอมชื่นใจ (ส่วนกาก นำมาต้มแล้วคั้นดื่มแทนน้ำได้)

  • สูตรยาอายุวัฒนะ : นำหญ้าปักกิ่งที่ถอนมาสด ๆ พร้อมราก ล้างให้สะอาด ต้มกับน้ำ หลังเดือดแล้วให้เติมน้ำผึ้งพอประมาณ ดื่มวันละ 3 เวลา จะทำให้ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ มีสุขภาพแข็งแรง อายุยืนยาว
  • สูตรป้องกันสารพัดโรค : รับประทานหญ้าปักกิ่งสดๆ หรือปรุงเป็นอาหารจิ้มน้ำพริกกินก็ได้ รสอร่อยมาก ถ้ามีหญ้าปักกิ่งมากก็ใช้ทั้งต้น ถ้ามีน้อยก็ใช้วิธีลอกใบล่างๆ มารับประทานวันละ 14 ใบ
ข้อควรระวัง
ไม่ควรรับประทานของแสลง ซึ่งมีผลให้ฤทธิ์การรักษาโรคของหญ้าปักกิ่ง อ่อนลง เช่น ฟักแฟง , แตงกวา (แตงโม, ตระกูลแตงต่างๆ), มะระ, หัวไชเท้า และอาหารที่ถือว่าเป็นของเย็น

ปฏิกิริยาหลังรับประทานหญ้าปักกิ่ง หลังรับประทานหญ้าปักกิ่งเป็นเวลา 1 อาทิตย์ หรือ 10 วัน อาจมีอาการต่างๆ เหล่านี้ :

  • หงุดหงิด หรือ เป็นไข้ หรือ โมโหง่าย หรือ นอนไม่หลับ หรือ ปวดเมื่อย หรือ อาจจะมีน้ำเหลืองปนหนองออกทางอุจจาระ ส่วนปัสสาวะอาจมีกลิ่นเหม็นเหมือนน้ำล้างปลา แต่ “ไม่” เป็นอย่างนี้ทุกคนหรือทุกอาการ และเป็นไม่นาน อาการทั้งหลายจะหายไปเอง ไม่ต้องตกใจ เพราะหญ้าปักกิ่งกำลังออกฤทธิ์ โรคกำลังถูกปราบ
เทคนิคในการดื่มน้ำหญ้าปักกิ่งให้อร่อย
  • หลายท่าน คงพบปัญหาว่า น้ำหญ้านั้น เหม็นเขียว และดื่มยากเหลือเกิน กว่าจะดื่มได้หมดหนึ่งแก้ว … เราแนะนำให้ลองผสมน้ำผึ้ง โดยละลายน้ำผึ้งกับน้ำอุ่นเล็กน้อย แล้วจึงผสมน้ำหญ้าลงไปในแก้ว กะปริมาณหวานพอเมาะ รับรองค่ะว่า น้ำหญ้าปักกิ่ง จะหอม หวาน และรับประทานได้ง่ายขึ้นเยอะเลยค่ะ :)

ข้อมูลอ้างอิงเกี่ยวกับหญ้าปักกิ่ง
  • สารานุกรมสมุนไพรไทย โดยอาจารย์วุฒิ วุฒิธรรม
  • คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ประสบการณ์จริงจากผู้ที่ใช้หญ้าปักกิ่งในการรักษาโรคต่างๆ

:::คลิกอ่านรายละเอียดหญ้าปักกิ่งสดและแคปซูล :::

หญ้าปักกิ่ง หญ้าปักกิ่ง หญ้าปักกิ่ง หญ้าปักกิ่ง หญ้าปักกิ่ง