วันพฤหัสบดีที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2556

หญ้าปักกิ่ง หรือ หญ้าเทวดา เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยววงศ์ Commelinaceae ต้นสูง 7-10 ซม. บางทีสูงได้ถึง 20 ซม. ใบที่โคนต้นกว้างประมาณ 1 ซม. ยาวไม่เกิน 10 ซม. ใบตามลำต้นสั้นกว่าใบที่โคนต้น ดอก ออกเป็นช่อที่ยอดรวมกันเป็นกระจุกแน่น กลีบดอกสีฟ้าหรือม่วงอ่อน รูปไข่กลับ ยาว 3-5 ซม. กลีบนอกรูปไข่ ยาวประมาณ 4 มม. ใบประดับกลมยาวประมาณ 4 มม. ไม่ซ้อนกัน ร่วงง่าย เกสรตัวผู้ที่สมบูรณ์มี 2 อัน เกสรตัวผู้ไม่สมบูรณ์มี 3 อัน ก้านเกสรมีขนรังไข่รูปขนาน ยาวประมาณ 1 มม. เกลี้ยงก้านเกสรตัวเมีย ยาวประมาณ 3 มม. ผลรูปไข่เป็นสามเหลี่ยมปลายแหลมยาว 3-4 มม. มีเมล็ด 2 เมล็ด มีลายเป็นรัศมี หญ้าปักกิ่งมีถิ่นกำเนิดในประเทศจีนแถบสิบสองปันนา มีการนำเข้าและปลูกทั่วไปในประเทศไทย ชอบขึ้นที่ดินร่วนปนทรายแดดรำไร และน้ำไม่ขัง ยาจีนใช้หญ้าปักกิ่งในโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ ในประเทศไทยประมาณ 20 ปีที่แล้ว ผู้ป่วยโรคมะเร็งดื่มน้ำคั้นจากหญ้าปักกิ่งทั้งต้น เพื่อรักษาและบรรเทาอาการจากโรคมะเร็ง บางรายใช้หญ้าปักกิ่งร่วมกับการรักษาแผนปัจจุบัน เพื่อช่วยลดผลข้างเคียง ผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ได้รายงานว่าใช้หญ้าปักกิ่งรักษาตนเองจากมะเร็งต่าง ๆ ปอดกระเพาะอาหาร มดลูก โพรงจมูกตับ เม็ดเลือดขาวเต้านม เนื้องอกในสมอง เป็นต้น
หญ้าปักกิ่งมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ Murdannia loriformis (Hassk.) Rolla Raoet Kammathy ขนใบของหญ้าปักกิ่ง
เมื่อสัมผัสอาจทำให้แพ้ มีอาการผื่นคัน ภายในใบหญ้ามีผลึกแคลเซียมออกซาเลทรูปเข็มจำนวนมาก และมีเกลืออนินทรีย์ของโซเดียม และโปตัสเซียมประมาณ 0.1% น้ำคั้นจากหญ้าปักกิ่งไม่ทำให้เกิดความผิดปกติในด้านการเจริญเติบโต เพื่อพิสูจน์ประสิทธิภาพในการรักษาโรคมะเร็งเบื้องต้น ได้ทำการวิจัยเพื่อแยกสารที่แสดงคุณสมบัติต้านมะเร็ง พบว่าหญ้าปักกิ่งมีกลุ่มสารที่แสดงฤทธิ์ยับยั้งเซลล์มะเร็ง (direct cytotoxicity) ต่อเซลล์มะเร็งเต้านม (ATCC HTB 20) และเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่ (SW 620) ได้แก่ กลุ่มกลัยโคไซด์ และอะกลัยโคน สำหรับกลุ่มคาร์โบไฮเดรต และกรดอะมิโนไม่ได้ทำการตรวจสอบทำการแยกส่วนเด่นในกลุ่มกลัยโคไซด์
อย่างไรก็ตามฤทธิ์ยับยั้งเซลล์มะเร็งของหญ้าปักกิ่งค่อนข้างอ่อน จำเป็นต้องตรวจสอบคุณสมบัติต้านมะเร็งที่แสดงออกทางอ้อม โดยผ่านเซลล์ของระบบภูมิคุ้มกันงานวิจัยอยู่ในระหว่างการศึกษาวิจัย ดังนั้นเพื่อประเมินประสิทธิภาพในการรักษามะเร็งของหญ้าปักกิ่งจำเป็นต้อง ผ่านการทดลองทางคลีนิค เนื่องจากจะมีการพัฒนารูปแบบการใช้ที่ทันสมัยและแตกต่าง

ขอบคุณข้อมูลจาก : หญ้าปักกิ่ง  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น